งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน





งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการด้านความรู้ความชำนาญ ผลิตผลที่ได้และสถานการณ์ของงาน ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะวิเคราะห์ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดโครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจับและพัฒนา ผู้จัดการโครงการอาจจะนำทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงปฏิบัติการสามวันสำหรับการอุตสาหกรรม (three-day workshop) การออกแบบไม่จำเป็นต้องเป็นทีมเสมอไป ในองค์กรเล็กๆ อาจจะใช้ผู้ออกแบบคนเดียว ในการทำภาระการออกแบบการสอน

งานออกแบบ

พิสัยของงาน (job) เป็นไปตามสถานการณ์ และระดับที่แตกต่างกันของผู้ชำนาญการ บางครั้งผู้ออกแบบการเรียนการสอนทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้ชำนาญการในขั้นตอนหนึ่งของ กระบวนการ ในบางงานเรียกผู้ออกแบบว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่มีสมรรถภาพในการดำเนินโครงการตั้งแต่ เริ่มต้นจนสิ้นสุด พิสัยของงานไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษแต่บาง งานต้องการระดับความแตกต่างของผู้ชำนาญการ (expertise)

โดยปกติงานในโรงเรียนรวมถึงหน้าที่ในการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของตำแหน่งอื่นๆ เช่น ผู้นิเทศหลักสูตร (curriculum supervisor) ผู้ชำนาญการด้านสื่อ (media Specialist) นักเทคโนโลยีการเรียนการสอน (instructional technologist)

ผลิตผลของการออกแบบ

ไม่ว่าจะเป็นงานที่ตั้งสมมติฐานไว้ หรืองานในหน้าที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลาย ของผลิตผลก็ตาม จะมีขอบเขตที่แตกต่างและซับซ้อน งานการออกแบบการเรียนการสอนก็เช่นกัน ขอบเขตรวมถึงความแตกต่างของขนาดและเนื้อหาความซับซ้อนรวมถึงความแตกต่างของหลักสูตร หรือสื่อ ในระดับที่เล็กที่สุดของขอบเขต คือ แผนการสอน (lesson plans) และหน่วยหรือชุดโมดุล (modules) ระดับต่อไปรวมถึงรายวิชา (courses) และหน่วย (unit) รายวิชาหลักสูตรและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวอย่างของผลิตผลที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ ระดับสูงสุดของระดับความซับซ้อน คือ สื่อการเรียนรู้

ซึ่งมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยอาศัยสื่อทางโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย ระดับต่ำสุดของความซับซ้อน คือ กระดาษและดินสอน และสำหรับโสตทัศนวัสดุ เป็นระดับกลางของความซับซ้อน (Seels, and Glasgow, 1990 : 14)





สภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วยหนาที่ของการเรียนการสอน เป็นสถานการณ์สำหรับการออกแบบการเรียนการสอนสิ่งนี้รวมถึงความพยายามออกแบบการเรียนการสอนในสถานการณ์ระหว่างประเทศ การธุรกิจการอุตสาหกรรม สุขภาพและสมาคมที่ไม่มีผลประโยชน์ การเรียนและการศึกษานอกระบบ ทั้งหมดนี้ต้องการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งใช้ประโยชน์จากการสื่อการเรียนการสอนและเทคโนโลยี



ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น